ความแตกต่างระหว่างชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ
ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ ที่เราเรียกกันติดปาก จนหลายคนเข้าใจว่ามาจาก ต้นชาเชียว ต้นชาอู่หลง หรือต้นชาดำ แต่แท้จริงแล้วชาแต่ละประเภทที่เราเรียกกันมาจาก “กระบวนการผลิต” ที่แตกต่างกัน ทั้งการหมัก การอบไอน้ำ การผึ่งแดด และการนวด จนได้มาซึ่งชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำ ซึ่งทั้งหมดมาจากต้นชาเดียวกัน โดยในประเทศไทยทางภาคเหนือ ต้นชาที่ปลูกได้ผลผลิตชาที่มีคุณภาพสูง คือ
ชาอัสสัม เป็นสายพันธุ์ที่นิยมปลูก
ชาอู่หลงเบอร์ 12 หรือเรียกภาษาจีนติดปากว่า จินเซียน
ชาอู่หลงเบอร์ 17 หรือเรียก ชาอู่หลงก้านอ่อน เรียกภาษาจีนติดปากว่า หยวนจื่อ
โดยกระบวนการผลิตชาแต่ละประเภท มีกรรมวิธีที่แตกต่างกัน ดังนี้
ชาเขียว (Green Tea)
เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก (Non-fermented tea)
อบไอน้ำ/คั่วบนกระทะ (Steaming/pan firing) เพื่อไม่ให้ โพลิฟีนอล (Polyphenol) ทำปฎิกิริยา
นวด (rolling) ทำให้เซล์แตกและม้วนตัว
สีน้ำชาเป็นสีเขียวถึงเขียวอมเหลือ
ชาอู่หลง (Oolong Tea)
เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักบางส่วน (Semi-fermented tea)
ผึ่งแดด (withering) เพื่อกระตุ้นให้ โพลิฟีนอล (Polyphenol) ทำปฎิกิริยาบางส่วนจนได้เป็น (Oolong Tea Polymerized Polyphenol-OTTP)
สีน้ำชาเป็นสีเหลืองอมเขียวถึงน้ำตาลอมเขียว
ชาดำ (Black tea)
เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์ (Completely-fermented tea)
ผึ่งแดด (withering) เพื่อกระตุ้นให้ โพลิฟีนอล (Polyphenol) ทำปฎิกิริยาอย่างสมบูรณ์
สีน้ำชาเป็นสีน้ำตาลแดง
ประโยชน์หลักๆ ของชาแต่ละประเภท
ชาเขียว มีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะที่สุด เนื่องจากในชาเขียวมี คาเทชิน ซึ่งเป็นสารประเภทโพลิฟินอล (Polyphenols) สามารถอ่านประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่ ประโยชน์ของชาเขียว
ชาอู่หลง ช่วยเรื่องลดน้ำหนัก เนื่องจากมีสาร OTTP (Oolong Tea Polymerized Polyphenol) สามารถอ่านประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่ ประโยชน์ของชาอู่หลง
ชาดำ มีคาเฟอินเยอะสุดในบรรดาชาทั้งหมดแต่น้อยกว่ากาแฟ ช่วยทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า